ซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งใน อัมสเตอร์ดัมประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ประกาศ เปิดตัวแผนกปลอดพลาสติกโดยการนำวัสดุทดแทนมาใช้หรือว่านี่จะเป็นก้าวต่อไปในการช่วยเหลือทะเลจากขยะพลาสติกล่ะ? ผู้เชี่ยวชาญมากมายได้มารวมพลังกันในงาน Ocean Plastics Crisis Summit ณกรุงลอนดอนเพื่อคิดหาทางออกที่จะช่วยกู้โลกของเราก่อนที่จะโดนเหล่าปีศาจพลาสติกกลืนกินรายงานโดย Katie Dancey-Downs จาก Lush Times
ทะเลพลาสติกของเรา
ณ ชายหาดแห่งหนึ่งในประเทศเคนย่า Roger Harrabin นักวิจัยสิ่งแวดล้อมจาก BBC กำลังบอกลาเจ้าเต่าตัวน้อยขณะที่เขาปล่อยมันกลับไปสู่บ้านของมัน หลังจากระยะเวลานานถึงสามอาทิตย์ที่เจ้าเต่าน้อยต้องเข้ารับยาระบายเพื่อถ่ายพลาสติกจำนวนมากที่ขังอยู่ในท้องของมันออกมา ก่อนก้าวขาออกจากชายหาด Roger ได้หันกลับมามองไปที่ชายหาดอีกครั้ง แต่สิ่งที่เขาเห็นนั้นไม่ใช่เจ้าเต่า แต่เป็นเด็กชายคนหนึ่งที่กำลังดื่มน้ำอึกสุดท้ายจากขวดพลาสติก และโยนมันทิ้งลงบนผืนทราย
Roger ถ่ายทอดความฉุนเฉียวของเขาออกมาผ่านเรื่องเล่านี้ในงาน Ocean Plastics Crisis Summit แต่ภายใต้ความโกรธ ความหวังยังคงมีอยู่ ในระยะเวลา 30 ปี ที่เขาทำงานเป็นนักข่าวให้กับ BBC Roger ไม่เคยได้รับการสนับสนุนมากมายขนาดนี้
ผู้พูดจำนวนมากได้ใช้เวทีในงาน Royal Geographic Society ณ กรุงลอนดอน เพื่อช่วยกันหาทางออกให้กับความสูญเสียจากพลาสติกที่มนุษย์ได้ก่อกับทะเล งานนี้ได้ถูกจัดขึ้นโดย Artists Project Earth องกรณ์ที่นำดนตรีและศิลปะมาช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในเชิงสร้างสรรค์
ผู้สนับสนุนทางสิทธิมนุษย์และอดีตดาราหญิง Bianca Jagger กล่าวเปิดงาน Summit โดยพูดถึงความสาหัสของปัญหานี้ว่า “เกือบ 10 ปีแล้ว ที่แหล่งที่อยู่อาศัยที่ใหญ่ที่สุดของโลก ได้กลายเป็นสู่สานพลาสติก”
ตอนนี้พลาสติกได้ถูกแทรกซึมและเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันของเหล่าสัตว์น้ำเรียบร้อยแล้ว จากอัตราการวัดโดย Ellen Macarthur Foundation มันเป็นไปได้ไม่ยากเลยที่ทะเลจะมีจำนวนขยะพลาสติกมากกว่าจำนวนปลาภายในปี พ.ศ. 2593 พลาสติกเกิดบนบกและจบลงที่ทะเลจากการเก็บและรีไซเคิลที่ไม่ถูกต้อง
นอกจากตัตว์น้ำแล้ว สัตว์ปีกก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน ชีวิตของสัตว์ปีกจำนวนมากได้สิ้นสุดลงจากการไม่สามารถทานอาหารได้ เพราะท้องของพวกมันนั้นเต็มไปด้วยพลาสติก อย่างฝาขวดน้ำ ตลับหมึกพิมพ์ และลูกกอล์ฟ
แต่ที่น่าเป็นห่วงมากกว่าพลาสติกชิ้นใหญ่เหล่านี้ คือพลาสติกขนาดเล็ก ถุงพลาสติก ตาข่ายจับปลา และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ ที่ถูกแสงอาทิตย์ทำลายจะกลายเป็นอนุภาคพลาสติกขนาดเล็ก หรือ microplastics และเมื่อมันลงสู่ทะเล การที่จะเก็บพวกมันขึ้นมานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
Microplastics จะถูกกินโดยเหล่าแพลงต้อน สิ่งมีชีวิตที่อยู่ใต้สุดของห่วงโซ่อาหาร และเมื่อปลาใหญ่และสัตว์น้ำทั้งหลายกินแพลงต้อนเข้าไป พวกมันก็กินพลาสติกเข้าไปด้วยเช่นกัน และท้ายที่สุดเมื่อเรากินปลา ก็ไม่ต่างจากที่เรากินพลาสติกเข้าไป
“ทุกบรรจุภัณฑ์ต้องสามารถนำไปรีไซเคิลได้ เราไม่สามารถมีข้ออ้างอะไรในการทำบรรจุภัณฑ์ที่ไม่สมารถนำไปรีไซเคิลออกมา”Professor Ed Kosior, Nextek
ปล่อยพลาสติกสู่ทะเลคือสิ่งผิดกฎหมาย
ตามที่นักข่าวสิ่งแวดล้อม ผู้รณรงค์ และนักเขียน Oliver Tickell จากประเทศอังกฤษได้กล่าวไว้ว่าเราได้มีกฎหมายที่ครอบคลุมทั่วโลกแล้ว เมื่อประเทศไหนสร้างมลภาวะพลาสติกให้กับทะเล จะถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายสากล
ในงาน Summit Oliver ได้เปิดตัวรายงานของเขา ตีพิมพ์โดย Artists Project Earth ที่กล่าวถึงประเด็นเกี่ยวกับการเอาโทษผู้กระทำผิดที่สร้างมลพิษทางทะเล ถึงแม้กฎหมายนี้จะมีอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีการบังคับใช้
ในบรรดากฎหมายทั้งหมดที่ Oliver ได้ลงบันทึกไว้ หนึ่งในนั้นคือ United Nations Convention on the Law of the Sea ซึ่งกฎหมายนี้ต้องการที่จะ ป้องกัน ลด และควบคุมมลภาวะของสภาพแวดล้อมทางทะเลจากทุกแหล่ง
และนี่คือตัวอย่างเล็กๆ ของกฎหมายทั้งหมดที่นาย Oliver Tickell ได้ร่างไว้ในรายงาน นอกจากนี้เขายังกล่าวไว้ว่า หากเราต้องเริ่มกระบวนการที่จะนำกฎหมายสากลนี้มาใช้ตั้งแต่ศูนย์ มันอาจจะใช้เวลานานถึง 20 ปีก็เป็นได้
“ยังดีที่เราไม่ต้องมาเริ่มใหม่ตั้งแต่แรก เรามี 20 ปีที่พวกเราได้สร้างมาไว้แล้ว”
การตรวจกฎหมายเหล่านี้อาจเป็นเรื่องยาก แต่พลเมืองยังสามารถใช้แรงกดดันและเรียกร้องให้รัฐบาลเคารพข้อตกลงทางกฎหมาย
“เราต้องเตือนรัฐบาลให้พวกเขารู้ถึงหน้าที่ที่พวกเขาสัญญาไว้” กล่าวโดย Oliver
ทางออกของปัญหามลภาวะพลาสติก
ผู้พูดในงาน Ocean Plastics Crisis Summit ได้พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ทางออกของมลภาวะจากพลาสติกไม่ใช่การทำความสะอาดทะเล แต่คือการหยุดและป้องกันไม่ให้พลาสติกลงไปสู่ทะเล
เพื่อที่จะทำให้สำเร็จ Bianca Jagger ได้คิดวิธีการป้องกันไว้ดังนี้ โดยข้อแรกพวกเราจะต้องร่วมใจกันหันหลังให้พลาสติกใช้แล้วทิ้ง ทุกครั้งที่เราใช้พลาสติก เราจะต้องนำมันกลับมาใช้ใหม่อีกรอบแทนที่จะโยนมันทิ้งไป นอกเหนือจากนั้นเราต้องโพกัสที่ประเทศที่กำลังพัฒนาที่ผลิตขยะเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่มีการจัดเก็บขยะที่เหมาะสม และแรงจูงใจในการลดขยะพลาสติก
ผู้พูดในงานได้กล่าวว่าพวกเรามีทางแก้ไขมากมายที่สามารถใช้ได้จริง อย่างแรกเลยคือเราอาจจะเริ่มจากการให้ประเทศแต่ละประเทศคิดค้นโครงการที่ช่วยจูงใจให้คนหันมารีไซเคิลขวดพลาสติกมากขึ้น อย่างเช่นประเทศนอร์เวย์ที่บังคับให้ลูกค้าจ่ายค่ามัดจำทุกครั้งที่ซื้อขวดน้ำพลาสติก และจะได้รับมัดจำคืนต่อเมื่อนำขวดพลาสติกเปล่ามาคืนที่ตู้อัตโนมัติ โครงการนี้อาจจะมีการนำไปใช้ในประเทศเพื่อนบ้างอย่างสก๊อตแลนด์ ที่รัฐบาลกำลังได้รับความช่วยเหลือจาก Zero Waste Scotland เพื่อทำให้โครงการนี้ได้คลอดออกมา
หัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการออกแบบสิ้นค้าและบรรจุภัณฑ์ เราจะทำอย่างไรให้สินค้าและบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ผลิดออกมาทุกวันมีผลกระทบกับสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด
“ทุกบรรจุภัณฑ์ต้องสามารถนำไปรีไซเคิลได้ เราไม่สามารถมีข้ออ้างอะไรในการทำบรรจุภัณฑ์ที่ไม่สมารถนำไปรีไซเคิลออกมา” กล่าวโดย Ed Kosior ผู้บริหาร Nextek องค์กรณ์ที่ดูแลเรื่องการรีไซเคิลพลาสติก
Willemijn Peeters ผู้บริหารของ Searious Business ต้องการเห็นเจ้าของแบรนด์ดังออกมาเป็นผุ้นำการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ Searious Business เลยได้คิดค้นเครื่องมือออนไลน์ออกมา ที่จะช่วยบริษัทต่างๆ ประเมินจำนวนพลาสติกที่ใช้ และช่วยแนะนำการพัฒนากาดลดพลาสติกสำหรับอนาคต คราวนี้บริษัทจึงจะไม่สามารถอ้างได้อีกต่อไปแล้วว่า ไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไร หรือ เริ่มอย่างไร
รวมพลังเพื่อการเปลี่ยนแปลง
“เมื่อนักโบราณคดีรุ่นต่อๆไป หันกลับมามองสิ่งที่หลงเหลืออยู่จากศตวรรษที่ 20 และ 21 พวกเขาจะเห็นอะไร? ตอนนี้เรากำลังอาศัยอยู่บนกองขยะ” กล่าวโดย Peter Maddox ผู้บริหาร Waste and Resources Action Programme (WRAP) บนเวทีของ Ocean Plastics Crisis Summit
ความถูก ความทนทาน และความอเนกประสงค์ของพลาสติกคือเหตุผลที่ทำให้พวกมันน่าหลงใหล แต่ตอนนี้ ปัจจัยเหล่านั้นคือสิ่งที่ทำพวกเราเกลียดมัน Peter กล่าว “พวกเรามากันไกลมาก แต่เรายังอีกมากมายที่เราต้องรับผิดชอบ”
The Ocean Plastics Crisis Summit เปิดทางแสงสว่างให้กับพวกเราทุกคน แต่ทว่าการสนทนาไม่ได้จบลงแค่เพียงเท่านั้น ภายหลังจากวันงานไม่นาน ได้มีการรวมตัวเพื่อสร้างนโยบายช่วยเหลือทะเลพลาสติก ในทีมประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน นักข่าว และสามัญชน ในขณะนี้ทุกคนกำลังเร่งคิดนโยบาย เทคโนโลยี และการดำเนินการทางท้องถิ่น
กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้มีแค่เพียงความเชี่ยวชาญ แต่ยังมีใจที่รักและห่วงใยโลก ระหว่างที่เรารอนโยบายช่วยเหลือ คำถามเดียวที่หลงเหลืออยู่คือผู้นำทุกคนนั้นพร้อมจะยอมรับฟังและปฎิบัติตามหรือเปล่า